แนะนำ 7 อะไหล่รถบรรทุก/อะไหล่ดั้มพ์น่าซื้อ by PNS

ทำความรู้จักกับอะไหล่รถบรรทุก

อะไหล่รถบรรทุก เป็นชิ้นส่วนรถบรรทุกหลากหลายประเภทที่นำประกอบมาเข้าด้วยกันให้ตัวรถมีความสมบูรณ์แบบทั้งรูปลักษณ์และฟังก์ชันการใช้งาน ซึ่งรถบรรทุกแต่ละคันอาจมีอะไหล่ที่แตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของรถ ประเภทของรถบรรทุกหลัก ๆ ก็จะมีทั้งแบบ 10 ล้อ, 6 ล้อ และ 4 ล้อ จะแบ่งออกได้ตามนี้

  1. รถ 10 ล้อ เช่น รถสิบล้อแบบหัวเดียว, รถสิบล้อดั้มพ์, รถพ่วง
  2. รถ 6 ล้อ เช่น รถหกล้อแบบหัวเดียว, รถเฮี้ยบหรือเครนยก, รถกระบะเปิดข้าง
  3. รถ 4 ล้อ เช่น รถคาร์โก้, รถแอลฟ์, รถกระบะบรรทุก

นอกจากนี้ยังมีอะไหล่ที่ใช้เป็นอุปกรณ์ตกแต่งรถบรรทุกให้สวยงามอีกด้วย จึงทำให้ชิ้นส่วนอะไหล่นั้นมีเยอะแยะมากมายให้เลือกสรร
คอนเทนต์นี้เราจึงจะมาแนะนำชิ้นส่วนอะไหล่รถบรรทุก/อะไหล่ดั้มพ์ที่โดดเด่นทั้งหมด 7 แบบ โดยจะมีทั้งอะไหล่ที่ PNS Metal Work ผลิตเองรวมถึงอะไหล่ในสต็อกเพื่อจำหน่าย จากนั้นจะปิดท้ายคอนเทนต์ด้วยชิ้นส่วนอะไหล่แบบอื่น ๆ อีกมากกว่า 10 ชนิด (พร้อม PDF เช็กรายละเอียดสินค้าและราคาที่ด้านล่าง) จะมีอะไหล่ตัวไหนที่น่าสนใจบ้าง มาดูกัน!

1.ฝาข้าง/แผงข้าง

ฝาข้างหรือแผงข้างรถบรรทุกเป็นส่วนประกอบหลักของโครงสร้างด้านข้างตัวถังรถ ช่วยปิดและรักษาความปลอดภัยของสิ่งที่บรรทุกไว้บนรถในระหว่างการขนส่ง อีกทั้งยังทำให้โครงสร้างของการประกอบรถบรรทุกโดยรวมมีความสมบูรณ์แบบ แผงข้างออกแบบมาให้ทนทานและแข็งแรงต่อการรับน้ำหนักของสิ่งที่บรรทุกขึ้นไปบนรถ จึงมักจะผลิตจากวัสดุทั้งเหล็กและอลูมิเนียม มักนำมาพับให้เป็นลอนและพับปิดปลายทั้งสองด้านเพื่อให้สามารถป้องกันเศษหิน เศษดินกระเด็นเข้าไปในตัวรถได้

ตัวอย่างฝาข้างหรือแผงข้าง ผลิตโดย PNS Metal Work

1.1 ฝาข้าง รุ่นลอนธรรมดา

ฝาข้าง แผงข้างรถบรรทุก รถดั้มพ์ รุ่นลอนธรรมดา

รายละเอียด :

  • ขนาดหน้ากว้าง 40 ซม. / 50 ซม. / 60 ซม. / 80ซม.
  • ขนาดความยาว 8 ฟุต / 10 ฟุต

1.2 ฝาข้าง รุ่นลอนกลางคู่

ฝาข้าง แผงข้างรถบรรทุก รถดั้มพ์ รุ่นลอนกลางคู่

รายละเอียด :

  • ขนาดหน้ากว้าง 40 ซม. / 50 ซม. / 55 ซม. / 60 ซม. / 80 ซม.
  • ขนาดความยาว 8 ฟุต / 10 ฟุต

1.3 ฝาข้าง รุ่นลอนกลางคู่แบบปิดสองด้าน

ฝาข้าง แผงข้างรถบรรทุก รถดั้มพ์ รุ่นลอนกลางคู่แบบปิดสองด้าน

รายละเอียด : พับปิดปลายทั้งสองด้าน ป้องกันเศษหิน เศษดินกระเด็นเข้าไปตามซอก ไม่ต้องติดลูกตั้ง

  • ขนาดหน้ากว้างตั้งแต่ 40 ซม. / 50ซม. / 60 ซม. / 80 ซม.
  • ขนาดความยาว 8 ฟุต / 10 ฟุต

1.4 ฝาข้าง รุ่นลอนกลางกลมปิดสองด้าน

ฝาข้าง แผงข้างรถบรรทุก รถดั้มพ์ รุ่นลอนกลางกลมแบบปิดสองด้าน

รายละเอียด : พับปิดปลายทั้งสองด้าน ป้องกันเศษหิน เศษดินกระเด็นเข้าไปตามซอก ไม่ต้องติดลูกตั้ง

  • ขนาดหน้ากว้าง 80 ซม.
  • ขนาดความยาว 220 ซม. / 8 ฟุต / 10 ฟุต

นอกจากนี้ยังมีแผงข้างอื่น ๆ อีก เช่น แผงข้าง FBR และแผงข้างแอลฟ์ (ELF)

  • แผงข้าง FBR ขนาด 53x243 ซม.
แผงข้างดั้มพ์ FBR
  • แผงข้างแอลฟ์ (ELF) ช่วงสั้นขนาด 34.5x215 ซม. / ช่วงยาวขนาด 34.5x243 ซม.
แผงข้างแอลฟ์ (ELF)

2.ลูกตั้งฝาข้าง

ลูกตั้งฝาข้างเป็นอะไหล่ที่ใช้ประกอบกับฝาข้างรถบรรทุก หากจะติดตั้งฝาข้างบางรุ่นบนรถบรรทุกจะต้องมีลูกตั้งประกอบกันเพื่อให้ฝาข้างสามารถตั้งได้ โดยส่วนใหญ่มักจะผลิตจากเหล็กหรืออลูมิเนียม เพื่อความแข็งแรงทนทานและสามารถรับน้ำหนักได้ดี

ตัวอย่างลูกตั้งฝาข้าง ผลิตโดย PNS Metal Work

2.1 ลูกตั้งฝาข้าง

ลูกตั้งฝาข้างรถบรรทุก

รายละเอียด :

  • ลูกตั้งสำหรับประกอบฝาข้าง รุ่นลอนธรรมดา
  • มีขนาด 40 ซม. / 50 ซม. / 60 ซม. / 80 ซม.

2.2 ลูกตั้งฝาข้างลอนกลางคู่

ลูกตั้งฝาข้าง แผงข้างรถบรรทุก รุ่นลอนกลางคู่

รายละเอียด :

  • ลูกตั้งสำหรับฝาข้าง รุ่นลอนกลางคู่ 
  • มีขนาดสำหรับฝาข้าง รุ่น 40 ซม. / 50 ซม. / 60 ซม. / 80 ซม.

นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนอะไหล่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นอะไหล่ที่ PNS ผลิตเอง เช่น คาน, เสา, เหล็กฉาก, ขอบก.ใหญ่ และขอบพื้นอีกด้วย

3.บังโคลน

บังโคลนได้รับการออกแบบให้ปิดล้อไว้ ป้องกันไม่ให้เศษหิน ดิน โคลน หรือน้ำกระเด็นขึ้นมาโดนยางล้อและกระทบกับตัวรถ ปกป้องตัวถังรถจากการกัดกร่อนที่เกิดจากการสัมผัสกับความชื้น นอกจากนี้ยังสามารถดูดซับการกระแทกในกรณีที่เกิดการชนหรืออุบัติเหตุ ช่วยลดความเสียหายต่อตัวรถ รวมถึงส่วนประกอบที่สำคัญอื่น ๆ บังโคลนจึงต้องผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานและทำความสะอาดง่ายนั่นก็คือเหล็กและอลูมิเนียม

ตัวอย่างบังโคลนรถบรรทุก ผลิตโดย PNS Metal Work

มีทั้ง บังโคลนล้อรถ NKR 4 ล้อ, บังโคลนล้อรถ NPR 6 ล้อเล็ก, บังโคลนล้อรถ FBR / FTR / HINO 6 ล้อ, บังโคลนพ่วงหรือรถ 6 ล้อใหญ่ และบังโคลนอื่น ๆ อีกมากมาย

บังโคลนรถบรรทุก

4.บานพับ

บานพับรถบรรทุกเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญ เป็นอุปกรณ์เชิงกลที่ช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนอะไหล่อื่น ๆ ให้สามารถเปิด-ปิดหรือหมุนได้ เช่น ประตู ฝากระโปรงหน้า กระบะท้าย หรือฝาครอบท้ายรถ มักทำจากวัสดุที่แข็งแรง เช่น เหล็กหรืออลูมิเนียม เพื่อให้ทนทานต่อการใช้งานหนักและการสัมผัสกับสภาพอากาศต่าง ๆ

ตัวอย่างสินค้าบานพับรถบรรทุก by PNS Metal Work

เช่น บานพับจิ๋ว 3/12” , บานพับเล็ก 4” , บานพับเล็กหูยาว , บานพับใหญ่ 5” , บานพับใหญ่หูเดียว และบานพับแอลฟ์+ประกบใน 35 ซม.

บานพับรถบรรทุก

5.บูช

บูชหรือลูกหมากรถบรรทุก คือชิ้นส่วนหนึ่งในรถบรรทุกที่ช่วยให้ช่วงล่างรถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่เป็นตัวยึดบนโครงหรือเพลาของรถบรรทุก ช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวทั้งสองที่เลื่อนเข้าหากัน ลดแรงสั่นสะเทือน ลดเสียงรบกวน และลดความกระด้างของช่วงล่างในขณะรถบรรทุกกำลังเคลื่อนที่

ตัวอย่างสินค้าบูชรถบรรทุก by PNS Metal Work

มีทั้งบูชฉากและบูชสวมเพลา 2”

บูชรถบรรทุก

6.ชุดล็อกท้าย

ชุดล็อกเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อยึดประตูท้ายของรถบรรทุก ช่วยให้ประตูท้ายรถปิดอย่างแน่นหนา ป้องกันประตูท้ายรถเปิดออก ทำให้สิ่งของที่บรรทุกบนรถปลอดภัยไม่หล่นลงมา ชุดล็อกมีหลายแบบด้วยกันจึงต้องเช็กขนาดและไซส์ที่เหมาะสมกับฝาท้าย

ตัวอย่างสินค้าชุดล็อกท้ายรถบรรทุก by PNS Metal Work

ชุดล็อกท้ายรถบรรทุก

7.ข้อต่อพ่วง

ข้อต่อพ่วงเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างรถบรรทุกกับรถพ่วง ช่วยให้รถบรรทุกกับรถพ่วงที่ขนส่งสินค้าสามารถต่อกันได้กลายเป็นคันเดียวกันและยึดรถทั้งสองคันให้เคลื่อนที่ไปพร้อมกันได้อย่างปลอดภัย ข้อต่อพ่วงมักผลิตจากเหล็ก อลูมิเนียม และเหล็กอัลลอย เพื่อความแข็งแรงในการลากจูงรถพ่วง

ตัวอย่างสินค้าข้อต่อรถพ่วงรถบรรทุก by PNS Metal Work

ก็จะมี ข้อต่อ, ข้อข้อต่อสีดำ 6 หุน และข้อต่อทอง 5 หุน

ข้อต่อรถพ่วงรถบรรทุก

อะไหล่รถบรรทุกอื่น ๆ

นอกจากนี้ PNS Metal Work ยังมีอะไหล่รถบรรทุกอื่น ๆ ที่เรามีสต็อกไว้จำหน่ายให้กับลูกค้าหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ขอเกี่ยวผ้าใบ, ขารับ, ขาลูกกลิ้ง, โช้คอัพ, แป้นรับรางรถไฟ, ล็อกกันแบะ (แอลฟ์ / Hino), ล็อกบน-ล่าง-ไร, ลูกข้างแบน, สปริง, สลักล็อกบน, สายดึง, หน้าต่าง, หูช้าง และเหล็กรางรถไฟ

ทุกคนสามารถเลือกดูที่รูปด้านล่างได้เลยค่ะ

หากสนใจสั่งซื้อหรือเช็กราคาอะไหล่ทั้งหมด คลิกได้ที่ปุ่มด้านล่างเลยนะคะ

สรุป

นี่ก็เป็น “อะไหล่รถบรรทุกหรืออะไหล่รถดั้มพ์” ทั้งหมดที่ PNS Metal Work ผลิตเองและมีจำหน่ายในสต็อก หากต้องการเปลี่ยนอะไหล่รถ สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาขนาด ยี่ห้อ รุ่น และคุณลักษณะเฉพาะของตัวรถว่าสามารถใช้งานกับอะไหล่นั้น ๆ ได้หรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะสมและใช้งานได้จริง หรืออาจจะสอบถามช่างที่มีความรู้เพื่อขอคำแนะนำในการเลือกอะไหล่ที่เหมาะสมสำหรับรถดั้มพ์ของคุณ รวมถึงทักขอรายละเอียดเพิ่มเติม/สั่งซื้อสินค้า ได้ที่ช่องทางการติดต่อด้านล่างเลยค่ะ

--------------------------------------------

บริษัท พีเอ็นเอส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

55/17 หมู่ที่ 5 ซอยเชิดมหาไชย 1 ถ.เอกชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000

Line @PNSmetalwork

Facebook Page : PN Laser Cut

E-Mail : [email protected]

YouTube Channel : PN Laser Cut

References :

ไอเดีย ฟาซาด (Facade) 25 แบบ!! วัสดุและสไตล์แบบไหน.. ที่ใช่สำหรับอาคาร

Facade คืออะไร?

ฟาซาด Facade คืออะไร

ฟาซาด (Facade) คือ องค์ประกอบที่อยู่บริเวณด้านหน้าของอาคารทั้งหมด ประกอบไปด้วย หน้ากากอาคาร ระเบียง กันสาด หลังคา กรอบหน้าต่าง รวมไปถึงการตกแต่งที่ถูกประดับไว้ด้านหน้าอาคาร ด้านหน้าตึก หรือด้านหน้าบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ลายปูน คิ้วบัว เสา รูปปั้น ซุ้ม

ฟาซาดเปรียบเสมือนความงดงามบนใบหน้าของอาคาร สามารถสร้างภาพลักษณ์บ่งบอกสไตล์การก่อสร้างของอาคารเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี สามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบที่เรียบง่าย ซับซ้อน แปลกใหม่ หรูหรา หรือทันสมัยนอกจากนี้การเลือกใช้วัสดุที่นำมาทำฟาซาดยังมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์แก่อาคารเหล่านั้นอีกด้วย

**คำว่า Facade มาจากภาษาฝรั่งเศส (Façade) ที่แปลว่า ใบหน้า, โฉมหน้า แต่ถูกนำมาใช้ในเชิงสถาปัตยกรรมในการออกแบบอาคาร

นอกจากนี้ Facade ยังมีหลายแบบด้วยกัน สามารถจำแนกได้ตามรูปแบบทางสถาปัตยกรรม โครงสร้างอาคาร วัสดุที่ใช้ สไตล์ของตัวอาคาร และฟังก์ชันการใช้งานของฟาซาด

9 ฟาซาดยอดนิยม ตามวัสดุที่ใช้

การเลือกใช้วัสดุมาทำฟาซาด สามารถบ่งบอกได้ทั้งสไตล์ของอาคาร และยังเป็นการนำคุณสมบัติของวัสดุนั้น ๆ มาทำให้เกิดประโยชน์ในด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เรามาดูตัวอย่างฟาซาดที่ได้รับความนิยมในการก่อสร้างอาคารกัน

ฟาซาดกระจก (Glass Facade)

ฟาซาดกระจก (Glass Facade)

ใช้แผ่นกระจกขนาดใหญ่ มีลักษณะที่โปร่งใส ช่วยให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาภายในอาคารได้อย่างเต็มที่ เพิ่มมุมมองแบบพาโนรามาให้กับตัวอาคาร มีความคลาสสิกทันสมัยเข้าได้กับทุกยุค ส่วนมากฟาซาดแบบกระจกมักเป็นที่นิยมในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย (Contemporary) หรือมักใช้ในตึกสูง ๆ

ฟาซาดผนังม่านกระจก (Curtain Wall Facade)

ฟาซาดผนังม่านกระจก (Curtain Wall Facade)

ฟาซาดแบบนี้จะมีลักษณะเป็นระบบผนังภายนอกที่ห่อหุ้มตัวอาคารไว้ ไม่ใช่โครงสร้างหลักของอาคาร โดยทั่วไปจะประกอบด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เช่น กระจก อลูมิเนียม หรือแผ่นคอมโพสิต ผนังม่านมักจะมีลักษณะที่เรียบและสม่ำเสมอกัน เป็นที่นิยมสำหรับใช้ในอาคารพาณิชย์และตึกสูง

ฟาซาดหิน (Stone Facade)

ฟาซาดหิน (Stone Facade)

อาจใช้วัสดุเป็นหินธรรมชาติหรือหินสังเคราะห์ เพื่อสร้างความทนทานที่มาพร้อมรูปลักษณ์ภายนอกดึงดูดสายตา ฟาซาดหินมีตั้งแต่เกรดธรรมดาที่มีผิวสัมผัสเรียบง่ายไปจนถึงแบบหรูหราสง่างามดูเก๋ทันสมัย ขึ้นอยู่กับประเภทของหินที่นำมาใช้ ฟาซาดหินนำมาใช้กับอาคารหลายแบบ ทั้งบ้าน ตึกพาณิชย์

ฟาซาดคอนกรีต (Concrete Facade)

ฟาซาดคอนกรีต (Concrete Facade)

มีลักษณะเป็นผนังที่ทำจากคอนกรีต มีความความแข็งแรงสวยงาม อาจเป็นได้ทั้งแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป คอนกรีตที่สร้างบนพื้นผิวตัวอาคาร หรือทำคอนกรีตที่เป็นลวดลายต่าง ๆ โดยฟาซาดคอนกรีตมักใช้ในสถาปัตยกรรมสไตล์โมเดิร์นและมินิมอล

ฟาซาดแผ่นโลหะ (Metal Panel Facade)

ฟาซาดแผ่นโลหะ (Metal Panel Facade)

แผ่นโลหะ เช่น อลูมิเนียม เหล็ก หรือสังกะสี สามารถใช้เพื่อสร้างฟาซาดที่มีความโดดเด่นและร่วมสมัยได้ เพราะแผ่นโลหะมีความหลากหลายทั้งในด้านรูปทรง สี และพื้นผิว โดยวัสดุเหล่านี้สามารถนำมาครีเอทเป็นฟาซาดในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้ความสวยงามตามต้องการ อาจจะนำมาทำเป็นระแนง ฉลุลาย หรือตัดเป็นรูปทรงต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการออกแบบของสถาปนิก การทำฟาซาดแผ่นโลหะจึงสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารได้ทุกรูปแบบทั้งบ้านที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ ร้านค้า โรงแรม และตึกสูง

ซึ่ง PNS Metal Work เองก็มี บริการรับตัดพับ เลเซอร์ วีคัท และผลิตชิ้นงานโลหะ ในการทำฟาซาดโลหะเพื่อไปประดับตกแต่งอาคารด้วยนะ

ฟาซาดไม้ (Timber Facade)

ฟาซาดไม้ (Timber Facade)

เป็นฟาซาดที่ใช้วัสดุจากไม้ต่าง ๆ เพื่อนำมาสร้างภาพลักษณ์ลักษณ์ที่อบอุ่นเป็นธรรมชาติให้กับตัวอาคาร สามารถทำได้โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ทั้งการหุ้มด้วยไม้หรือทำเป็นระแนงไม้ก็ได้ มักใช้ในการออกแบบที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บ้านสไตล์คอนเทมโพรารี่, มินิมอล หรืออาจออกแบบบนร้านค้าหน้าตึกต่าง ๆ

ฟาซาดอิฐ (Brick Facade)

ฟาซาดอิฐ (Brick Facade)

เป็นทางเลือกสุดคลาสสิกที่ให้ทั้งความทนทานและความสวยงามเหนือกาลเวลา อิฐสามารถจัดเรียงในรูปแบบ สี และพื้นผิวที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างหน้ากากอาคารที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ซึ่งเหมาะกับสถาปัตยกรรมต่าง ๆ หลากหลายสไตล์ ส่วนใหญ่มักนำใช้กับบ้านสไตล์ยุโรป บ้านสไตล์ Modern Contemporary และตึกสูงสำนักงานต่าง ๆ

ฟาซาดคอมโพสิต (Composite Facade)

ฟาซาดคอมโพสิต (Composite Facade)

คอมโพสิตเป็นการผสมผสานวัสดุ 2 ชนิดขึ้นไปเพื่อให้คุณสมบัติที่ดีขึ้น ทั้งรูปลักษณ์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง ฟาซาดคอมโพสิตอาจประกอบด้วยกระจก หิน เซรามิก และโลหะชนิดต่าง ๆ เพื่อสร้างรูปลักษณ์ภายนอกที่ดึงดูดสายตาและเพิ่มคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่ออาคาร

เช่น อลูมิเนียมคอมโพสิต ที่มีความแข็งแรงทนทาน มีความยืดหยุ่นสูงดัดโค้งขึ้นรูปง่าย ช่วยให้กันความร้อนและความชื้นได้ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยอาจจะนำมาทำเป็นระแนง ประดับตกแต่งเป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือจะทำเป็นรูปแบบเรียบ ๆ เรียงต่อกันก็สามารถทำได้

ฟาซาดผนังระบายอากาศ (Ventilated Facade)

ฟาซาดผนังระบายอากาศ (Ventilated Facade)

ฟาซาดผนังระบายอากาศ มีลักษณะเป็นช่องว่างระหว่างผนังภายนอกและโครงสร้างของอาคาร ฟาซาดลักษณะนี้ถูกออกแบบมาให้ระบายอากาศ เป็นฉนวนกันความร้อน ป้องกันน้ำฝนเข้าสู่อาคาร จัดการความชื้นให้ระเหยออกจากผนัง ทำให้สามารถหมุนเวียนการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างโดยใช้วัสดุหลากหลายอย่าง เช่น แผ่นโลหะ คอนกรีต กระเบื้อง ระแนงไม้ ระแนงอลูมิเนียม

นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของฟาซาดที่ใช้กันโดยทั่วไปในงานสถาปัตยกรรม โดยฟาซาดสามารถดีไซน์ผสานผสานวัสดุและฟังก์ชันการใช้งานเพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างอาคาร ตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของอาคารแบบเฉพาะเจาะจง รวมถึงเป็นไปตามความสร้างสรรค์ของผู้ออกแบบ

6 ฟาซาดยอดนิยม ตามสไตล์การออกแบบ

นอกจากการแบ่งตามวัสดุแล้ว ฟาซาดยังสามารถแบ่งออกตามดีไซน์ในสไตล์ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย เราขอแนะนำ 6 ไอเดีย Facade design ตามสไตล์การออกแบบที่ได้รับความนิยมมาให้ทุกคนนำไปใช้เป็นไอเดียออกแบบฟาซาดค่ะ

6 ไอเดีย Facade design ตามสไตล์การออกแบบ

Classical Facade

Classical Facade

ฟาซาดแบบคลาสสิกได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมกรีกและโรมันโบราณ ให้กลิ่นอายของความหรูหรา มักจะมีการออกแบบให้มีตรงกลางมีความสมมาตร สัดส่วนของเสาและหน้าจั่วมีความสมดุล มักจะมีประติมากรรมและลวดลายต่าง ๆ เช่น รูปปั้น คิ้วบัวลวดลายโค้งมน มักนำมาใช้เป็นโครงสร้างของสถานที่ราชการและพิพิธภัณฑ์

Gothic Facade

Gothic Facade

ฟาซาดแบบโกธิคมีลักษณะเด่นคือซุ้มโค้งแหลมหรือที่เรียกว่าโค้งโกธิคตั้งสูงขึ้นไปอย่างเด่นชัด มีลวดลายที่ซับซ้อน องค์ประกอบของฟาซาดทั้งหมดจะเป็นแนวตั้ง เช่น ยอดแหลมที่สูงตระหง่าน หน้าต่างที่สูงและแคบ ทำให้สร้างความรู้สึกยิ่งใหญ่ให้กับตัวอาคาร จึงมักนำไปก่อสร้างปราสาทและโบสถ์

Modernist Facade / Minimalist Facade

Modernist Facade / Minimalist Facade

มีลักษณะที่เน้นความเรียบง่าย คลีน เน้นเส้นตรงและรูปทรงเรขาคณิต ใช้หน้าต่างบานใหญ่ที่ช่วยให้มีความโปร่งโล่งสบายตา จัดองค์ประกอบแบบไม่สมมาตร อาจมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอเพื่อดึงดูดความสนใจทางสายตา มีความสวยงามแบบมินิมอลเน้นประโยชน์ใช้สอย เน้นการใช้วัสดุที่มีพื้นผิวเรียบ เช่น กระจก เหล็ก คอนกรีต และโลหะต่าง ๆ มักจะนำมาสร้างบ้านที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงาน

Postmodern Facade

Postmodern Facade

ฟาซาดสไตล์แบบนี้จะรวมองค์ประกอบการตกแต่งที่ทันสมัย ดูขี้เล่น เน้นสีสัน รูปทรงเรขาคณิต มีเส้นโค้ง ดูแยกส่วนหรือเป็นชั้น ๆ เหมือนภาพปะติด มุมมองมีความแปลกใหม่แฟนตาซี มักจะใช้สีโทนสว่าง ผสมผสานวัสดุ พื้นผิว และรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกัน มักสร้างให้ดูมีไดนามิกและมีสไตล์ที่หลากหลาย ส่วนใหญ่จะใช้กับอาคารพาณิชย์ ออฟฟิศสมัยใหม่ และสวนสนุก

Contemporary Facade

Contemporary Facade

ฟาซาดแบบคอนเทมโพรารี่หรือฟาซาดแบบร่วมสมัย เป็นการผสมระหว่างการตกแต่งยุคปัจจุบันผสานกับการตกแต่งในยุคเก่า มีรูปแบบที่เรียบง่ายมินิมอล คลีน แต่ดูอบอุ่น ใช้โทนสีที่นุ่มนวล ใช้วัสดุการก่อสร้างที่ทันสมัย เช่น ไม้ กระจก เหล็ก คอนกรีต อลูมิเนียม และแผ่นคอมโพสิต ใช้หน้าต่างกระจกบานใหญ่เพื่อช่วยให้ได้รับแสงธรรมชาติที่เพียงพอ มักจะออกแบบให้โปร่งโล่ง สบายตา และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาใช้กับอาคารพาณิชย์ บ้าน หรือออฟฟิศสมัยใหม่

Art Deco Facade

Art Deco Facade

เป็นฟาซาดที่มีรูปทรงเรขาคณิตอันโดดเด่น รูปทรงเพรียวบาง มีการตกแต่งที่หรูหราและโฉบเฉี่ยว ใช้ลายเส้นที่ชัดเจนและแข็งแรง มักใช้วัสดุคุณภาพสูงเพื่อสะท้อนความมั่งคั่งของตัวอาคาร เช่น กระจก หินอ่อน หินขัดมัน สแตนเลส กระเบื้องเซรามิกเคลือบ และโลหะต่าง ๆ มักตกแต่งด้วยโคมไฟ ป้ายไฟนีออน และใช้สีที่ตัดกันเพื่อสร้างความดึงดูดสายตา เช่น สีดำ-สีทอง, สีเงิน-สีน้ำเงิน, สีขาว-สีดำ ส่วนใหญ่จะใช้กับโรงละคร โรงแรม อาคารพาณิชย์ และอพาร์ตเมนต์ เพราะการตกแต่งอาคารสไตล์นี้สามารถเพิ่มภาพลักษณ์ที่มีความเย้ายวนใจได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังมี Renaissance Facade, Baroque Facade, Victorian Facade, และฟาซาดสไตล์อื่น ๆ อีกมากมาย

10 ไอเดียฟาซาดอลูมิเนียมและโลหะต่าง ๆ

เมื่อทุกคนได้รู้จักไอเดียฟาซาดในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว ถ้ามีความสนใจที่จะทำ Facade จากแผ่นโลหะ ทั้งเหล็ก สังกะสี หรือที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนั่นก็คือ “ฟาซาด อลูมิเนียม” เราได้นำตัวอย่างของฟาซาดโลหะทั้งแบบเจาะรู ฉลุลาย ระแนง และแบบอื่น ๆ มาให้ทุกคนได้นำไปใช้เป็นไอเดียทั้งหมด 10 ไอเดียด้วยกันค่ะ

1. ฟาซาดแผ่นโลหะเจาะรู

ฟาซาดแผ่นโลหะเจาะรู

2. ฟาซาดแผ่นโลหะเจาะรู+พ่นสี

ฟาซาดแผ่นโลหะเจาะรู+พ่นสี

3. ฟาซาด อลูมิเนียมแบบเรียบ+เจาะรู

ฟาซาด อลูมิเนียมแบบเรียบ+เจาะรู

4. ฟาซาดแผ่นโลหะสามเหลี่ยม

ฟาซาดแผ่นโลหะสามเหลี่ยม

5. ฟาซาดแผ่นโลหะพับ

ฟาซาดแผ่นโลหะพับ

6. ฟาซาดอลูมิเนียมเจาะรู

ฟาซาดอลูมิเนียมเจาะรู

Pic cr. archdaily.com

7. ฟาซาดอลูมิเนียมฉลุลายต้นไม้

ฟาซาดอลูมิเนียมฉลุลายต้นไม้

Pic cr. archdaily.com

8. ฟาซาดอลูมิเนียมฉลุลายดอกไม้

ฟาซาดอลูมิเนียมฉลุลายดอกไม้

Pic cr. archdaily.com

9. ฟาซาดอลูมิเนียมฉลุลายหกเหลี่ยม

ฟาซาดอลูมิเนียมฉลุลายหกเหลี่ยม

Pic cr. archdaily.com

10. ฟาซาดอลูมิเนียมสไตล์โมเดิร์น

ฟาซาดอลูมิเนียมสไตล์โมเดิร์น

Pic cr. vibarchitecture.com

สำหรับคนที่ยังไม่ Patterns หรือลวดลายในการทำฟาซาด สามารถเข้าไปดูแบบฉลุลายต่าง ๆ คลิกดูได้ที่ 100 ไอเดีย ลายฉลุ ที่เราได้ทำเป็นคอนเทนต์รูปภาพไว้สำหรับคนที่ต้องการหาไอเดียได้เลยนะคะ

PNS Metal Work รับตัดเลเซอร์ฉลุลายโลหะหลายชนิด ถ้าคุณกำลังมองหาโรงงานผลิตชิ้นงานโลหะ สำหรับทำฟาซาด อลูมิเนียม เหล็ก และโลหะอื่น ๆ ทั้งแบบฉลุลาย, ระแนง, เจาะรู หรือฟาซาดสวย ๆ ตามแบบที่ต้องการ เราพร้อมตัดเลเซอร์ชิ้นงานให้ได้ สวย เป๊ะ คมกริบ มีคุณภาพ ด้วยเครื่องจักร CNC Laser Cutting ที่ควบคุมโดยช่างผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ มาพร้อมบริการเกี่ยวกับการผลิตและแปรรูปชิ้นส่วนโลหะ ไม่ว่าจะเป็น รับตัดพับโลหะ รับเลเซอร์คัท ฉลุลาย วีคัท และผลิตชิ้นงานตามแบบของคุณได้

เรามีทีมแอดมินและช่างผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้บริการ/ประเมินราคาให้ค่ะ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ช่องทางด้านล่างเลยนะคะ

--------------------------------------------

บริษัท พีเอ็นเอส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

55/17 หมู่ที่ 5 ซอยเชิดมหาไชย 1 ถ.เอกชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000

Line @PNSmetalwork

Facebook Page : PN Laser Cut

E-Mail : [email protected]

YouTube Channel : PN Laser Cut

References :

100 แบบ ลายฉลุ สวยๆ ไอเดียสุดครีเอทสำหรับงานเลเซอร์ CNC

สำหรับใครที่กำลังมองหาแบบลายฉลุ ในการนำไปผลิตชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็น ป้ายร้าน, ป้ายติดอาคาร, ฟาซาด (Facade) หรือหน้ากากอาคาร, ป้ายบ้านเลขที่, พาร์ทิชั่นหรือฉากกั้นห้อง, ของตกแต่งผนัง, และแผ่นเหล็กฉลุลายตามแบบต่าง ๆ

คอนเทนต์นี้เราได้รวบรวมลายฉลุหลากหลายแบบไว้ให้ทุกคนได้นำไปใช้เป็นไอเดีย ทั้งลายฉลุสวยๆ ลายไทย ลายดอกไม้ ลายโมเดิร์น พร้อมนำชิ้นงานตัวอย่างที่ PNS Metal Work เคยผลิตให้ลูกค้าของเรามาให้ดูปิดท้ายด้วย จะมีลายไหนถูกใจทุกคนบ้าง..? ตามมาดูกัน

แบบฉลุลาย

ลายฉลุสวยๆ

ลายฉลุไทย

ลายฉลุดอกไม้

ลายฉลุโมเดิร์น

ลายฉลุง่ายๆ

ลายฉลุ CNC

โลหะ ฉลุลาย by PNS

พามาดูตัวอย่างผลงานการเลเซอร์คัท CNC ที่เป็นผลงานของ PNS ทั้งหมด โดยจะมีทั้ง เหล็กฉลุลาย, สแตนเลสฉลุลาย, และอลูมิเนียมฉลุลาย โดยชิ้นงานทั้งหมดจะทำตามแบบของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นฉลุลายสวย ๆ ฉลุลายโลโก้ ฉลุลายรูปสัตว์ ฉลุลายสไตล์โมเดิร์น เพื่อนำไปทำเป็นป้ายอาคาร ป้ายติดผนัง ติดประกอบประตูรั้ว และอื่น ๆ อีกมากมาย

เหล็กฉลุลายรถฟักทอง ติดผนัง

เหล็กฉลุ เลเซอร์ รูปรถฟักทอง ติดผนัง

รายละเอียด

  • วัสดุ : เหล็กหนา 2 มม.
  • ขนาด : 60x60 มม.

เหล็กฉลุลายกวางมูส สำหรับติดแขวนผนัง

เหล็กฉลุลายกวางมูส

รายละเอียด

  • วัสดุ : เหล็กหนา 2 มม.
  • ขนาด : 50x50 ซม.

เหล็กฉลุลายม้ายูนิคอร์น สำหรับติดแขวนผนัง

เหล็กฉลุ เลเซอร์ ยูนิคอร์น

รายละเอียด

  • วัสดุ : เหล็กหนา 3 มม.
  • ขนาด : 50x50 ซม.
  • ชุบกันสนิม

เหล็กฉลุลายลูกกรง/รั้ว

รายละเอียด

  • วัสดุ : เหล็กหนา 4-5 มม.
  • ขนาดชิ้นงาน : 100x20 ซม.
  • พ่นสีดำด้านทั้ง 2 ข้าง

เลเซอร์ป้ายร้าน Free Skate Thailand

เหล็กฉลุลาย เลเซอร์ป้ายร้าน

รายละเอียด

  • วัสดุ : เหล็ก BA หนา 1.2 มม.
  • ขนาดชิ้นงาน : 1000x450 มม.

สแตนเลส ฉลุลายป้ายรวมสัตว์

รายละเอียด

  • วัสดุ : สแตนเลส หนา 2 มม.
  • ขนาดชิ้นงาน : 60x30 ซม.

งานเลเซอร์เหล็กฉลุลายโลโก้ป้ายทีมฟุตบอล

เหล็กฉลุลายโลโก้ป้ายทีมฟุตบอล

รายละเอียด

  • วัสดุ : เหล็ก BA หนา 1.2 มม.
  • ขนาดชิ้นงาน : 600x600 มม.

งานเลเซอร์ป้ายชื่อบริษัท

สแตนเลส ฉลุลาย ป้ายบริษัท

รายละเอียด

  • วัสดุ : สแตนเลส SUS304 หนา 1.2 มม.
  • ขนาดชิ้นงาน : 700x150 มม.

เลเซอร์รูปมังกรนำไปประกอบกับประตูรั้ว

สแตนเลสฉลุลายมังกร ประกอบกับประตูรั้ว

รายละเอียด

  • วัสดุ : สแตนเลส หนา 2 มม.
  • ชุบพ่นสีทอง (สีลูกค้าเตรียมมา)

สแตนเลสฉลุลายหยินหยางปลาคราฟทอง สำหรับติดประกอบประตูรั้ว

สแตนเลสฉลุลายปลาคราฟ ประกอบกับประตูรั้ว

รายละเอียด

  • วัสดุ : สแตนเลส หนา 3 มม.
  • ขนาด : 40x40 ซม.
  • ชุบพ่นสีทอง (สีลูกค้าเตรียมมา)

เหล็กฉลุลายม้าโพนี่บนเชลฟ์

รายละเอียด : งานเลเซอร์ฉลุลายม้าโพนี่บนชั้นตะกร้ารุ่นโพนี่ ที่เป็นสินค้ารุ่นมาตรฐานของบริษัท PN เพื่อส่งออกให้ดีลเลอร์และสาขาในเครือบริษัท

งานฉลุลาย+พ่นสี

งานเลเซอร์ฉลุลายโลโก้ป้ายทีมฟุตบอลอื่นๆ

PNS Metal Work รับตัดเลเซอร์ รับผลิตชิ้นงานฉลุลายโลหะตามความต้องการของคุณได้ ด้วยเครื่องเลเซอร์ CNC ที่ทันสมัย รวดเร็ว มีความแม่นยำสูง ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สั่งงานโดยช่างมืออาชีพ ทำให้งานออกมาสวยคม ตรงตามแบบเป๊ะ

✅ งานสวย คุณภาพละเอียดตามแบบ

✅ ฉลุลายวัสดุที่เป็นโลหะได้หลากหลายชนิด

✅ งานยากซับซ้อนแค่ไหน ก็ตัดได้รวดเร็วแม่นยำ

✅ สั่งผลิตได้ตั้งแต่ 1 ชิ้น ไปจนถึงชิ้นงานที่มีจำนวนมาก

นอกจากนี้เรายังสามารถตัดงานเลเซอร์ได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะ บากมุม, ตัดชิ้นงานเพลท, เจาะรูเจาะท่อ และตัดงานตัวอย่าง ตอบโจทย์งานเลเซอร์คัททุกแบบของลูกค้าได้ตามต้องการ

หากสนใจสามารถติดต่อเข้ามาสอบถามรายละเอียดกับเรามาได้ตามลิงก์และช่องทางด้านล่างนะคะ

--------------------------------------------

บริษัท พีเอ็นเอส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

55/17 หมู่ที่ 5 ซอยเชิดมหาไชย 1 ถ.เอกชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000

Line @PNSmetalwork

Facebook Page : PN Laser Cut

E-Mail : [email protected]

YouTube Channel : PN Laser Cut

Source : freepik.com

โลหะ คืออะไร? มีอะไรบ้าง? พร้อมแนะนำคุณสมบัติในงานอุตสาหกรรม

1. โลหะ คืออะไร?

โลหะ (Metals)

Metals โลหะ คือ กลุ่มของสารที่ได้จากการถลุงสินแร่กลายเป็นเนื้อค่อนข้างบริสุทธิ์ จากนั้นจะถูกนำมาขึ้นรูปและแปรรูปให้เป็นวัสดุที่มีลักษณะทางกายภาพที่แข็ง (ยกเว้นปรอท) มีความหนาแน่น ไม่ยอมให้แสงผ่าน และมีความมันวาว มักจะเป็นตัวนำความร้อนและตัวนำไฟฟ้าได้ดี อีกทั้งยังทนทานต่อการกัดกร่อนและความร้อนได้ จึงมักถูกนำมาใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และงานก่อสร้าง

นอกจากนี้ยังมีการนำโลหะไปใช้ในงานศิลปะ อุปกรณ์ทำเครื่องประดับ และงานฝีมือต่าง ๆ โลหะที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส ทองแดง ทองคำ สังกะสี เงิน และดีบุก

2. คุณสมบัติของโลหะ

โลหะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป หากแบ่งกลุ่มประเภทคุณสมบัติโลหะทั่วไป จะสามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. คุณสมบัติทางกล (Mechanical properties) เช่น ความแข็งแกร่ง (Strength), ความแข็ง (Hardness)
  2. คุณสมบัติความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น/ความเครียด เช่น โมดูลัสความยืดหยุ่น (Modulus of elasticity)
  3. คุณสมบัติทางเคมี (Chemical properties) เช่น ความทนทานต่อการกัดกร่อน
  4. คุณสมบัติทางไฟฟ้า (Electrical properties) เช่น ความต้านทานทางไฟฟ้า การนำไฟฟ้า
  5. คุณสมบัติทางความร้อน (Thermal properties) เช่น อุณหภูมิจุดหลอมเหลว
  6. คุณสมบัติด้านอื่น ๆ เช่น ความหนาแน่น (Density) และความสึกหรอ (Wear)

นอกจากนี้ยังมีการนำโลหะไปใช้ในงานศิลปะ อุปกรณ์ทำเครื่องประดับ และงานฝีมือต่าง ๆ โลหะที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส ทองแดง ทองคำ สังกะสี เงิน และดีบุก

ในส่วนภาพรวมคุณสมบัติโดยทั่วไปของโลหะสามารถลิสต์ออกมาได้ตามนี้

  • นำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดี
  • ส่วนใหญ่ผิวมันวาว สะท้อนแสง
  • อ่อนตัว สามารถรีดขึ้นรูปได้โดยไม่แตกหัก
  • แข็งแรง ช่วยในเรื่องน้ำหนักและความมั่นคง
  • มีความเหนียว ดึงยืดได้โดยไม่สูญเสียความสมบูรณ์ของโครงสร้าง
  • ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทนต่ออุณหภูมิสูงได้โดยไม่เสื่อมสภาพ
  • ต้านทานต่อการกัดกร่อน การเสื่อมสภาพ และการเกิดสนิม เมื่อสัมผัสกับความชื้นหรือสารเคมีบางชนิด

คุณสมบัติของโลหะในงานอุตสาหกรรม

คุณสมบัติของโลหะ

นอกจากนี้โลหะมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื่องจากมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เราจึงลิสต์คุณสมบัติของโลหะในงานอุตสาหกรรมมาบางประการมาไว้ในหัวข้อนี้เพื่อให้เข้าใจถึงความเป็นโลหะและการนำมาใช้งานมากขึ้น

ความแข็งแรงและความทนทานสูง (High Strength and Durability) : โลหะมีความแข็งแรงและทนทานเป็นเลิศ ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความสมบูรณ์ของโครงสร้าง ความสามารถในการทนต่อการบรรทุกของที่มีน้ำหนักมาก รวมถึงความทนทานต่อสภาพอากาศหรือสภาพแวดล้อมที่มีการใช้งานหนัก ๆ

การนำไฟฟ้า (Conductivity) : โลหะมักเป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนที่ดี คุณสมบัตินี้ทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเดินสายไฟฟ้า ระบบส่งกำลัง และการใช้งานด้านความร้อนต่าง ๆ เช่น ชิ้นส่วนไฟฟ้า การผลิตพลังงาน และเครื่องจักรอุตสาหกรรม

ความอ่อนตัว (Malleability) : โลหะสามารถขึ้นรูปและแปรรูปได้ง่ายโดยไม่แตกหัก เนื่องจากมีความยืดหยุ่น คุณสมบัตินี้ช่วยให้สามารถรีดโลหะเป็นแผ่นบาง ๆ หรือดึงเป็นเส้นลวด ทำให้สามารถใช้นำมาใช้ในการผลิตชิ้นงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การก่อสร้าง ยานยนต์ และยานอวกาศ

ความเหนียว (Ductility) : คล้ายกับความอ่อนตัว ความเหนียวหมายถึงความสามารถของโลหะที่จะยืดออกเป็นเส้นลวดบาง ๆ โดยไม่แตกหัก คุณสมบัตินี้จำเป็นสำหรับการใช้งาน เช่น การเดินสายไฟฟ้า สายเคเบิล และท่อ ซึ่งจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นและยืดขยายออก

ความต้านทานการกัดกร่อน (Corrosion Resistance) : โลหะบางชนิด เช่น สแตนเลสและอลูมิเนียม มีความทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม คุณสมบัตินี้ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมทางทะเล การก่อสร้าง กระบวนการทางเคมี และโครงสร้างพื้นฐานที่สัมผัสกับความชื้นและสารเคมีที่มีความรุนแรง

การขยายตัวตามความร้อน (Thermal Expansion) : โดยทั่วไปแล้วโลหะจะขยายตัวและหดตัวตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ คุณสมบัตินี้มักจะนำมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ เช่น การต่อโลหะ โดยใช้ประโยชน์จากอัตราการขยายตัวที่แตกต่างกันของโลหะเพื่อสร้างพันธะที่แข็งแรง เช่น ในการเชื่อมและการประสาน

การสะท้อนแสง (Reflectivity) : โลหะหลายชนิดมีการสะท้อนแสงและสะท้อนรังสีได้สูงมาก คุณลักษณะนี้ทำให้มีประโยชน์ด้านการใช้งานต่าง ๆ เช่น กระจกเงา การเคลือบสะท้อนแสง แผงโซลาร์เซลล์ และโคมไฟ

คุณสมบัติทางแม่เหล็ก (Magnetic Properties) : โลหะบางชนิด เช่น เหล็ก นิกเกิล และโคบอลต์ มีคุณสมบัติทางแม่เหล็ก จึงจะพบโลหะเหล่านี้ใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบแม่เหล็ก

ความสามารถในการรีไซเคิล (Recyclability) : โลหะเป็นวัสดุที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ และคุณสมบัติของโลหะจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อผ่านกระบวนการรีไซเคิล คุณสมบัตินี้จึงมีส่วนช่วยในด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาโลหะเป็นหลักในการผลิตชิ้นงานต่าง ๆ อีกด้วย

3. โลหะมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

โลหะแบ่งออกได้หลายประเภทตามคุณสมบัติและลักษณะทางเคมี สำหรับการแบ่งกลุ่มใหญ่ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1. โลหะกลุ่มเหล็ก (Ferrous metals) และ 2. โลหะนอกกลุ่มเหล็ก (Non-ferrous metals) ซึ่งเป็นประเภทของโลหะหลักที่พบในธรรมชาติและมักถูกใช้ในอุตสาหกรรม

ประเภทของโลหะ

นอกจากนี้ยังมีการนำโลหะไปใช้ในงานศิลปะ อุปกรณ์ทำเครื่องประดับ และงานฝีมือต่าง ๆ โลหะที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส ทองแดง ทองคำ สังกะสี เงิน และดีบุก

1.โลหะกลุ่มเหล็ก (Ferrous metals) : เป็นโลหะที่มีส่วนผสมของเหล็ก (Fe) มากกว่า 50% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กเหนียว (Iron) เหล็กหล่อ (Cast Iron) เหล็กกล้า (Steel) และเหล็กกล้าไร้สนิมหรือสแตนเลส (Stainless Steel) โลหะชนิดเหล็กเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติแข็งแรง สามารถขึ้นรูปและแปรรูปได้หลายวิธี ทั้งการหล่อ การกลึง การรีด การปั๊ม จึงเหมาะกับการนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้าง ทำโครงสร้างอาคาร และเครื่องจักรอุตสาหกรรม

2.โลหะนอกกลุ่มเหล็ก (Non-ferrous metals) : เป็นโลหะที่ไม่มีส่วนผสมของเหล็กเป็นองค์ประกอบหลัก มีความแข็งแรงทางด้านโครงสร้างหรือคุณสมบัติทางเชิงกลน้อยกว่าเหล็ก โดยทั่วไปจะทนต่อการกัดกร่อนได้มากกว่าเหล็ก มักถูกใช้ในรูปแบบของการเพิ่มเติมคุณสมบัติพิเศษให้กับโลหะอื่น ๆ เช่น เพิ่มการนำไฟฟ้าหรือทำให้โลหะอื่นง่ายต่อการขึ้นรูป ตัวอย่างโลหะนอกกลุ่มเหล็ก ได้แก่ อลูมิเนียม (Aluminum) ทองแดง (Copper) ตะกั่ว (Lead) ดีบุก (Tin) สังกะสี (Zinc) ทองคำ (Gold) เงิน (Silver) ทองเหลือง (Brass) บรอนซ์หรือทองสัมฤทธิ์ (Bronze) นิกเกิล (Nickel) แมกนีเซียม (Magnesium) และทองคำขาว (Platinum)

โดยโลหะนอกกลุ่มเหล็กยังสามารถแบ่งออกไปได้อีก 2 ประเภท นั่นก็คือ 

  • โลหะหนัก (Heavy Metals) คือ โลหะที่มีความหนาแน่นสูง (ส่วนใหญ่มากกว่า 5 g/cm³) ที่นิยมใช้งานกันมากและรู้จักโดยทั่วไป เช่น ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก เป็นต้น
  • โลหะเบา (Light Metals) คือ โลหะที่มีความหนาแน่นต่ำ น้ำหนักเบา (ส่วนใหญ่น้อยกว่า 5 g/cm³) ที่ใช้งานและรู้จักกันทั่วไป เช่น อลูมิเนียม แมกนีเซียม ไทเทเนียม เป็นต้น

*Trick : นอกจากนี้ยังมีการจำแนกโลหะออกไปอีกหลายแบบ เช่น โลหะผสม (Alloys) ที่เกิดจากการนำโลหะหลายชนิดมาผสมกันเพื่อเกิดคุณสมบัติใหม่ขึ้นมา, โลหะมีค่า (Precious Metals), โลหะพื้นฐาน (Base Metals), โลหะทนไฟ (Refractory Metals), โลหะหายาก (Rare Earth Metals) และอื่น ๆ อีกมากมาย

โลหะ มีอะไรบ้าง

โลหะ มีอะไรบ้าง

โลหะมีหลายชนิดด้วยกัน หากแยกตามธาตุโลหะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็จะมีมากกว่า 80 ชนิดในตารางธาตุ แต่เราขอนำตัวอย่างโลหะมาแนะนำให้ได้รู้จักเพียงบางส่วน

โดยโลหะตัวอย่างเหล่านี้เป็นโลหะที่ได้รับความนิยมและมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งเราจะทำเป็นตารางสรุปข้อมูลไว้เพื่อไกด์ไลน์ให้ผู้ที่ต้องการผลิตชิ้นส่วนและแปรรูปโลหะ สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในอุตสากรรมของตนเองได้

โลหะ มีอะไรบ้าง 1
โลหะ มีอะไรบ้าง 2

เหล็กกล้า (Steel) : มีความหนาแน่นอยู่ที่ 7.8 g/cm³ มีส่วนประกอบหลักเป็นเหล็กเหนียว (Iron) ผสมกับคาร์บอน (Carbon) และธาตุอื่น ๆ อีกเล็กน้อย ทำให้เหล็กกล้าเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน มีความเหนียวแน่น รับน้ำหนักได้ดี มีความยืดหยุ่น สามารถรีดขึ้นรูปได้ ต้านทานความร้อน และทนต่อสภาพแวดล้อม เหล็กกล้าจึงเป็นโลหะพื้นฐานที่สำคัญและใช้บ่อยที่สุดในการก่อสร้าง เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการใช้งานโครงสร้าง อาคาร สะพาน และยานพาหนะ รวมถึงอุตสาหกรรมทั่วไป เช่น การผลิตเครื่องจักรกล เครื่องมือฮาร์ดแวร์ เครื่องมือช่าง ลวด น็อต และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ

สแตนเลสหรือเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) : มีความหนาแน่นอยู่ที่ 7.9 g/cm³ เป็นเหล็กผสมคาร์บอนและโครเมียม ที่มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดสนิม มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนความชื้น และสารเคมีได้ดีเยี่ยม ทนทานต่อความร้อนจัดถึงเย็นจัด จึงมักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมขนส่ง งานที่มีความสำคัญด้านสุขอนามัย งานเกี่ยวกับปิโตรเคมี และพื้นที่ที่มีการกัดกร่อนสูง นอกจากนี้ยังนำไปใช้เป็นเครื่องมือแพทย์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องครัว อุปกรณ์แปรรูปอาหาร ส่วนประกอบรถยนต์ และเครื่องใช้ต่าง ๆ

อลูมิเนียม (Aluminum) : โลหะสีเงินขาวที่มีความหนาแน่นต่ำ อยู่ที่ 2.7 g/cm³ น้ำหนักเบา สะท้อนแสง ขึ้นรูปได้ง่าย มีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักค่อนข้างสูง มีความต้านทานต่อสารเคมีต่าง ๆ ทนต่อการกัดกร่อน มีความไวต่อการนำไฟฟ้าและความร้อน โดยทั่วไปจะใช้ในการผลิตวัสดุโครงสร้าง เช่น โครงเครื่องบิน ตัวถังรถยนต์ และวัสดุก่อสร้าง นอกจากนี้ยังใช้ในสายส่งไฟฟ้า วัสดุบรรจุภัณฑ์ อลูมิเนียมฟอยล์ อุปกรณ์ทำอาหาร และกระป๋องเครื่องดื่ม

ทองแดง (Copper) : เป็นโลหะสีน้ำตาลแดงอ่อน มีความหนาแน่นอยู่ที่ 8.9 g/cm³ มีความอ่อนตัว เหนียว สามารถตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ ทนต่อการกัดกร่อน มีความสามารถในการนำไฟฟ้าและความร้อน จึงมักนำมาใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สายไฟ สายเคเบิ้ล ไดนาโม มอเตอร์

ทองเหลือง (Brass) - โลหะผสมที่มีส่วนประกอบระหว่างทองแดงและสังกะสี มีความหนาแน่นอยู่ที่ 8.7 g/cm³ มีความทนทานต่อสนิม ทนต่อสภาพอากาศ ทนต่อรอยขูดขีด นิยมนำมาผลิตเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องดนตรี ของใช้และตกแต่งภายในบ้าน เช่น ก๊อกน้ำ ที่จับประตู

ทองสัมฤทธิ์หรือทองบรอนซ์ (Bronze) : เป็นโลหะที่มีส่วนผสมของทองแดงกับดีบุก มีความหนาแน่นอยู่ที่ 8.8 g/cm³ มีความทนทาน แข็งแรง ต้านทานการกัดกร่อน และจุดหลอมเหลวต่ำ มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น วิศวกรรม การก่อสร้าง ไฟฟ้า และการเดินเรือ รวมถึงการผลิตเครื่องประดับ เครื่องดนตรี งานศิลปะ และของตกแต่งต่าง ๆ

ทองคำ (Gold) : มีความหนาแน่นสูงมากอยู่ที่ 19.3 g/cm³ เป็นโลหะที่มีความเหนียวและอ่อนตัว มีผิวแวววาว สามารถขึ้นรูปเป็นลวดลายที่ซับซ้อนได้ เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม ทนทานต่อการหมองและการกัดกร่อน มีสีเหลืองทองสดใสสวยงามหรูหรา มีความหายาก เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับเครื่องประดับชั้นดี มีมูลค่าสูงเหมาะแก่การลงทุน

เงิน (Silver) : เป็นโลหะที่มีสีขาวแวววาว มีความหนาแน่นอยู่ที่ 10.5 g/cm³ นำไฟฟ้าและความร้อน สะท้อนแสงได้สูง เป็นโลหะที่มนุษย์ให้คุณค่า มักใช้ในเครื่องประดับ เครื่องมือทางการแพทย์ และเหรียญสกุลต่าง ๆ

สังกะสี (Zinc) : มีความหนาแน่นอยู่ที่ 7.1 g/cm³ เป็นโลหะที่มีสีขาวเงินมันวาว แข็งแต่เปราะ สามารถหล่อขึ้นรูปได้ง่าย ต้านทานต่อการกัดกร่อนในสภาพอากาศ ใช้ในการเคลือบ (galvanizing) เพื่อป้องกันการกัดกร่อนในเหล็ก ใช้ในแบตเตอรี่ และงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ตะกั่ว (Lead) : โลหะอ่อนที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ มีความหนาแน่นอยู่ที่ 11.3 g/cm³ มีความอ่อนนุ่ม ยืดได้ และเป็นสีเทาเงิน สามารถรีดและตีขึ้นรูปได้ง่าย มักนำมาใช้ทำแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ดีบุก (Tin) : เป็นโลหะสีขาวเงินที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ อ่อนตัว มีความหนาแน่นอยู่ที่ 7.28 g/cm³ ทนต่อการกัดกร่อน กรด และสารละลายต่าง ๆ เกาะติดกับโลหะอื่นได้ดี จึงมักใช้ในการเคลือบหรือผสมกับโลหะอื่น เพื่อป้องกันความชื้นและสนิม ตัวอย่างการนำไปใช้ เช่น ท่อ ลวด กระป๋องบรรจุอาหาร

ไทเทเนียม (Titanium) : เป็นโลหะที่มีความแข็งแรงสูง มีน้ำหนักเบา มีความหนาแน่นน้อยกว่าเหล็ก โดยจะมีความหนาแน่นอยู่ที่ 4.5 g/cm³ ถ่ายเทความร้อนได้ดี ต้านทานการกัดกร่อน มักนำไปผสมกับโลหะอื่น ๆ และใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต

นิกเกิล (Nickel) - มีความหนาแน่นอยู่ที่ 8.9 g/cm³ มีความความแข็งแรง เหนียวและอ่อนตัว มีสีขาวเงินมันวาว ขึ้นรูปในอุณหภูมิต่ำได้ดี ต้านทานการกัดกร่อน นำความร้อนและไฟฟ้า มักใช้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า เคลือบผิวอุปกรณ์ต่าง ๆ

Note : g/cm³ คือ กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร

นี่เป็นเพียงโลหะบางส่วนเท่านั้น ยังมีโลหะอีกมากมายหลายชนิด เช่น แพลตินัม (Platinum) โครเมียม (Chromium) โคบอลต์ (Cobalt) ปรอท (Mercury) และอื่น ๆ อีกมากมาย

โลหะแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและเกรดที่แตกต่างกันออกไปตามส่วนผสมภายในของโลหะนั้น ๆ ซึ่งเกรดของโลหะแต่ละชนิดจะมีผลกับการทำไปผลิตและแปรรูป รวมถึงมีผลต่อการนำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไปตามคุณสมบัติ

4. การผลิตและแปรรูปโลหะ

โดย PNS Metal Work เองก็มีบริการรับผลิตและแปรรูปโลหะด้วยเช่นกัน โดยจะเน้นไปที่การแปรรูปต่าง ๆ หรือ Metal Fabrication

การผลิตและแปรรูปโลหะ

โลหะที่ PNS นิยมนำมาใช้ในการผลิตและแปรรูป ก็จะมี 3 ประเภทเป็นหลัก ได้แก่ 

  1. เหล็กกล้า (Steel)
  2. สแตนเลส (Stainless Steel)
  3. อลูมิเนียม (Aluminum)

เรามีบริการต่าง ๆ ที่สามารถทำได้ทั้ง

  • 👉 รับตัดโลหะ รับตัดเหล็ก ตัดเหล็กแผ่น ตัดเหล็กตามแบบ รับตัดสแตนเลส รับตัดอลูมิเนียม ตัดพับอลูมิเนียม บริการตัดโลหะต่าง ๆ ตามแบบ ด้วยเครื่อง Shearing ระบบไฮดรอลิกคุณภาพแม่นยำ
  • 👉 รับพับโลหะ รับพับเหล็ก พับสแตนเลส พับอลูมิเนียม พับเหล็กฉาก พับเหล็กตัวยู พับเหล็กตัวซี พับอะไหล่รถยนต์ พับอะไหล่รถดัมพ์ ด้วยพิมพ์พับหลากหลายและเครื่องพับระบบไฮดรอลิก
  • 👉 รับตัดเลเซอร์ ตัดพับเลเซอร์ เลเซอร์คัท (Laser Cut) เลเซอร์เหล็ก เลเซอร์อลูมิเนียม เลเซอร์สแตนเลส ด้วยเครื่องเลเซอร์ CNC Laser Cutting ทันสมัย รวดเร็ว แม่นยำสูง
  • 👉 รับวีคัท (V-Cut) วีคัทสแตนเลส เหล็ก อลูมิเนียม วีคัทแผ่นโลหะตามแบบ ไสร่องวี พับมุมฉาก 90 องศา ด้วยเครื่อง CNC V-Cutting ระบบคอมพิวเตอร์ความแม่นยำสูง ทันสมัย
  • 👉 รับผลิตชิ้นงานตามแบบ รับผลิตชิ้นงานเหล็ก รับผลิตชิ้นงานสแตนเลส รับผลิตชิ้นงานโลหะ รับผลิตชิ้นงานตามสั่ง ตัดพับ ดัด เชื่อม ปั๊ม ตัดเลเซอร์ วีคัท ผลิตแปรรูปตามแบบ ด้วยช่างที่มีประสบการณ์ พร้อมเครื่องจักรคุณภาพที่ครอบคลุมกระบวนการผลิตครบวงจร

📝 Trick ที่ควรทราบ

ความหนาแน่นของโลหะแต่ละประเภท มีความสำคัญอย่างมากในการนำมาผลิตและแปรรูปโลหะ โลหะแต่ละชนิดมีแข็งและความหนาแน่นที่แตกต่างกัน ในการตัดโลหะ หากโลหะชนิดใดมีความหนาแน่นมากกว่า ก็จะต้องใช้มีดที่คมและแข็งขึ้น ส่วนการพับโลหะต้องใช้เครื่องจักรที่มีกำลัง (ตัน) มากขึ้น

ซึ่งโลหะแผ่นที่เรานำมาแปรรูปกันส่วนใหญ่เกิดจากการผสมโลหะหลาย ๆ ประเภทเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น สแตนเลสก็จะมีหลายเกรด แต่ละเกรดก็มีส่วนผสมของโลหะหลายประเภท ทำให้เกิดเป็นคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น กันสนิม กันไฟฟ้า กันแม่เหล็กดูด เป็นต้น

ฉะนั้นการแปรรูปโลหะชนิดต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป รวมถึงต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านนี้โดยตรง

สรุป

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเกร็ดความรู้สำหรับ โลหะ (Metals) ที่ PNS Metal Work นำมาฝาก หากผู้อ่านท่านใดต้องการผลิตชิ้นส่วนหรือแปรรูปโลหะสักชิ้น ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก, อลูมิเนียม, สแตนเลส, ทองแดง, สังกะสี และโลหะอื่น ๆ ตามที่เราได้แนะนำไว้ในเนื้อหาด้านบน PNS เราก็มีบริการแปรรูปโลหะประเภทที่คุณเลือก พร้อมช่วยให้กระบวนการผลิตของคุณง่ายขึ้น ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ พร้อมให้คำแนะนำทุกกระบวนการผลิต รวมถึงโรงงานของเราที่มีเครื่องจักรครอบคลุมไลน์การผลิตชิ้นส่วนและแปรรูปโลหะต่าง ๆ อย่างครบครัน

สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามรายละเอียดกับเรามาได้ตามลิงก์และช่องทางด้านล่างนะคะ

--------------------------------------------

บริษัท พีเอ็นเอส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

55/17 หมู่ที่ 5 ซอยเชิดมหาไชย 1 ถ.เอกชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000

Line @PNSmetalwork

Facebook Page : PN Laser Cut

E-Mail : [email protected]

YouTube Channel : PN Laser Cut

References :

Metalworking คืออะไร? พร้อมแนะนำงานโลหะ 5 ประเภท by PNS

Metalworking คืออะไร?

งานโลหะ หรือ Metalworking คือ กระบวนการและเทคนิคอันหลากหลายที่ใช้ในการผลิตขึ้นรูปและแปรรูปวัสดุที่เป็น ‘โลหะ’ ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ฯลฯ ให้ได้รูปร่างและขนาดตามที่ต้องการ โดยเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปโลหะจะครอบคลุมวิธีการหลายอย่างด้วยกัน เช่น การตัด การขึ้นรูป การต่อ และการตบแต่งโลหะ เพื่อสร้างชิ้นส่วน วัตถุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโครงสร้างต่าง ๆ ให้สามารถนำมาใช้งานต่ออย่างเป็นประโยชน์และเหมาะสมกับงานในรูปแบบอื่น ๆ ต่อไป

สำหรับกระบวนการหรือเทคนิคที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับงานโลหะจะมีดังนี้ค่ะ :

การตัด (Cutting) : เป็นการเอาวัสดุส่วนเกินออกจากชิ้นงานโลหะเพื่อให้ได้รูปร่างหรือขนาดที่ต้องการ เทคนิคการตัดมีหลายแบบด้วยกัน ได้แก่ การเลื่อย (Sawing) การตัด (Shearing) และการตัดด้วยเทคโนโลยีพิเศษ เช่น การตัดด้วยเลเซอร์ (Laser Cutting) หรือการตัดด้วยพลาสมา (Plasma Cutting)

การขึ้นรูป (Forming) : เป็นการขึ้นรูปโลหะให้เป็นโครงแบบเฉพาะ วิธีการทั่วไปก็จะมี การพับ (Bending), การปั๊ม (Stamping), การลากขึ้นรูปลึก (Deep Drawing) การรีด (Rolling) และการตี (Forging) กระบวนการเหล่านี้ใช้แรงทางกล ความร้อน หรือทั้งสองอย่างรวมกันเพื่อปรับรูปร่างโลหะใหม่

การต่อ (Joining) : เทคนิคการรวมชิ้นส่วนโลหะสองชิ้นขึ้นไปให้กลายเป็นชิ้นเดียวกัน ซึ่งการเชื่อม (Welding) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการหลอมโลหะเข้าด้วยกันโดยใช้ความร้อนหรือแรงดัน นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่น ๆ ได้แก่ การบัดกรี (Soldering) การแล่นประสาน (Brazing) และการยึดติดด้วยแรงทางกล (Mechanical Fastening) เช่น สกรู (Screws) สลักเกลียว (Bolts) หรือหมุดย้ำ (Rivets)

การหล่อ (Casting) : การหล่อโลหะเป็นการขึ้นรูปโลหะ โดยการเทโลหะที่หลอมเหลวลงในแบบหล่อ (Mold) หรือแม่พิมพ์ (Die) เพื่อสร้างรูปร่างที่ต้องการ โดยทั่วไปจะใช้ในการผลิตชิ้นส่วนโลหะที่ยุ่งยากหรือซับซ้อน วิธีการหล่อมีทั้งการหล่อทราย (Sand Casting) การหล่อโดยแบบหล่อไล่ขี้ผึ้ง (Investment Casting or Lost Wax Casting) การหล่อฉีด (Die Casting) และอื่น ๆ

การตัดเฉือน (Machining) : เป็นการใช้เครื่องมือตัดเฉือนสกัดเอาเนื้อโลหะออกเพื่อสร้างรูปร่างและขนาดตามต้องการ มีการใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การกัด (Milling) การเจาะ (Drilling) การกลึง (Turning) และการเจียร (Grinding) เพื่อให้รูปทรงโลหะมีมิติที่แม่นยำและมีพื้นผิวที่เรียบ

การขัดเกลาหรือตบแต่ง (Finishing) : เป็นกระบวนการตกแต่งผิวโลหะในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อโลหะเป็นรูปร่างสำเร็จแล้วจะถูกนำมาปรับปรุงรูปลักษณ์ ความทนทาน และความต้านทานการกัดกร่อนสึกหรอ ซึ่งการขัดเกลาตบแต่งเพื่อรักษาพื้นผิวโลหะ มีหลายเทคนิคที่มักจะนิยมใช้กันทั่วไป ตัวอย่างเช่น การทาสี (Painting) การชุบ (Plating) การพ่นสี (Powder Coating) การทำอโนไดซ์ (Anodizing) การขัด (Polishing) และการเคลือบ (Coating)

Metalworking หรืองานโลหะเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการใช้งานในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์  อุตสาหกรรมการก่อสร้าง อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องจักร อุตสาหกรรมการบินและยานอวกาศ และอื่น ๆ อีกมากมาย

“ฉะนั้นงานโลหะจึงจำเป็นต้องมีเครื่องจักรและอุปกรณ์เฉพาะทาง ควบคู่ไปกับผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะ มีความเชี่ยวชาญ รู้จักคุณสมบัติของวัสดุที่จะนำมาใช้งาน มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับกระบวนการทางโลหะวิทยา (Metallurgy) และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและแปรรูปโลหะเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างสมบูรณ์แบบได้”

# สำหรับ PNS Metal Work เป็นแบรนด์ใน เครือบริษัท PN ที่อยู่ภายใต้ บริษัท พีเอ็นเอส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (PNS Manufacturing Company Limited) แบรนด์นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตขึ้นรูปและแปรรูปโลหะ ด้วยเครื่องจักรที่รองรับการทำงานอย่างหลากหลายครอบคลุม พร้อมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมโลหะมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี (คลิกอ่านเกี่ยวกับ PNS เพิ่มเติม)

Metalworking VS Metal Fabrication ต่างกันอย่างไร?

หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นคำว่า Metal Fabrication ผ่านตาหรือเคยได้อ่านจากเว็บไซต์ต่าง ๆ มา เราจึงขอขยายความคำว่า Metal Fabrication เปรียบเทียบกับ Metalworking เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้นค่ะ

Metalworking กับ Metal Fabrication เป็นคำที่มีความใกล้เคียงกันมาก ซึ่งมักใช้แทนกันได้ แต่มีความหมายต่างกันเล็กน้อย นั่นก็คือ

Metal Fabrication หรือการแปรรูปโลหะ คือ กระบวนการจัดการกับวัสดุโลหะเพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหรือชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเทคนิคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การพับ (Bending) การเชื่อม (Welding) การต่อเชื่อม (Joining) การตัดเฉือน (Machining)

นอกจากนี้ยังผ่านกระบวนการตัดและการเจาะ (Cutting and Drilling) ไปจนถึงการทำงานที่ซับซ้อน เช่น การขึ้นรูปโลหะแผ่น (Sheet Metal Forming) การตัดด้วย CNC ทั้ง Laser Cut และ V-Cut ทั้งหมดนี้เพื่อประกอบชิ้นส่วนโลหะให้เป็นผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงานได้

ในทางกลับกัน Metalworking หรืองานโลหะ เป็นคำที่กว้างขึ้น ซึ่งครอบคลุมกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลหะในทุก ๆ องค์ประกอบ โดยจะมีตั้งแต่เทคนิคการแปรรูปโลหะอย่าง Metal Fabrication ที่อยู่ในสับเซตด้วย รวมถึงการกระบวนการอื่น ๆ เริ่มตั้งแต่ การตี (Forging) การหล่อ (Casting) การปั๊ม (Stamping) การสร้างรูปร่าง (Shaping) การขึ้นรูป (Forming) การรีด (Rolling) และการจัดการกับโลหะด้วยวิธีทางกลเพื่อสร้างรูปทรง โครงสร้าง หรือชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ

กระบวนการของ Metalworking สามารถใช้เพื่อสร้างทั้งวัตถุที่มีฟังก์ชันใช้งานได้จริง หรือจะใช้เฉพาะการตกแต่งก็ได้ อีกทั้งยังใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น การทำเครื่องประดับ (Jewelry Making) ประติมากรรม (Sculpture) การผลิตเครื่องมือ (Tool Manufacturing)  และการผลิตทางอุตสาหกรรม (Industrial Production) และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้โลหะเป็นองค์ประกอบในการผลิต

# กล่าวโดยสรุป Metal Fabrication คือ การแปรรูปโลหะ เน้นที่การสร้างชิ้นงาน การประกอบชิ้นส่วนโลหะโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงานนั้น ในขณะที่ Metalworking คือ งานโลหะ ที่เป็นคำกว้าง ๆ ซึ่งครอบคลุมกระบวนการอันหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับโลหะ รวมถึงเทคนิคการผลิตและวิธีการขึ้นรูปโลหะอื่น ๆ

การแปรรูปโลหะและการผลิตชิ้นงานโลหะ by PNS

ในส่วนของเนื้อหาต่อไป เราจะมาแนะนำตัวอย่างงาน “การแปรรูปโลหะและการผลิตชิ้นงานโลหะ by PNS Metal Work” พร้อมคำนิยามและภาพประกอบของงานนั้น ๆ (ซึ่งเป็นภาพเครื่องจักรและการทำงานจริงจากบุคลากรภายในโรงงาน PNS ทั้งหมด) ให้ทุกคนได้เข้าใจมากขึ้นว่าเราให้บริการอะไรบ้าง? การแปรรูปโลหะแต่ละแบบนั้นมีกระบวนการทำงานอย่างไร? และยังได้เห็นถึงความพร้อมของทรัพยากรบุคคล, เครื่องจักร, และงานตัวอย่างที่เราเคยผลิต เพื่อให้คนที่กำลังมองหาโรงงานผลิตแปรรูปโลหะแบบครบวงจร ได้นำไปพิจารณาในการเข้ามาใช้บริการกับโรงงานของเราค่ะ

โดยงานหลักของ PNS จะเน้นไปที่การแปรรูปโลหะ 4 แบบ ได้แก่ การตัด, การพับ, การตัดเลเซอร์, การวีคัท ส่วนงานที่เสริมเข้ามาคือการผลิตชิ้นงานตามแบบ ซึ่งจะมีกระบวนการและดีเทลที่ลงลึกไปอีก ตรงนี้ทุกคนสามารถทักเข้าไปคุยกับแอดมินเพื่อขอคำปรึกษาก่อนได้นะคะ

1. การตัด (Shearing)

การตัด (Shearing)

การตัด (Shearing) คือ กระบวนการตัดหรือเฉือนแผ่นโลหะให้ขาดออกจากกันกลายเป็นแผ่นชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง โดยการใช้เครื่องตัดโลหะแผ่น (Shearing Machine) ที่เป็นระบบไฮดรอลิก มักจะนำมาใช้ในการตัดแผ่นโลหะขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงหรือเอาส่วนที่ไม่ต้องการออก เมื่อได้แผ่นชิ้นงานแล้วจะนำไปใช้งานต่อแบบใดก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของงานนั้น ๆ

ข้อดีของการตัดคือ ประหยัดเวลา ได้แผ่นชิ้นงานที่เยอะในระยะเวลาอันสั้น ส่วนข้อเสียคือ ตัดชิ้นงานออกมาได้แค่เส้นตรงเพียงอย่างเดียว จึงทำให้การตัดมักถูกใช้เป็นขั้นตอนการเริ่มต้นงานของการขึ้นรูปและแปรรูปโลหะ

2. การพับ (Bending)

การพับ (Bending)

การพับ (Bending) คือ หนึ่งในวิธีการแปรรูปโลหะที่ส่วนมากจะเป็นแผ่นเรียบ (Sheet Metal) ให้เป็นองศาตามแนวพับหรือมุมพับตามที่ต้องการด้วยเครื่องพับระบบไฮดรอลิกที่มีกำลังพับสูง (Bending Machine) โดยการพับโลหะให้มีรูปทรงที่ต้องการจะต้องมีพิมพ์พับที่หลากหลาย เพื่อรองรับรูปทรงการพับที่แตกต่างกัน ตัวอย่างงานพับง่าย ๆ เช่น พับฉากธรรมดา พับรูปตัวยู พับรูปตัวซี และพับสี่เหลี่ยมมุมปิด หรือจะเป็นการพับชิ้นงานยาก ๆ ที่มีความซับซ้อน ต้องอาศัยความแม่นยำสูง เช่น อะไหล่รถยนต์ เสารถยก แผ่นกั้นเสียงถนน เป็นต้น

ซึ่งการพับเป็นเทคนิคพื้นฐานอันสำคัญที่มักถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งการผลิต ก่อสร้าง ยานยนต์หรือการสร้างองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม

3. การตัดเลเซอร์ (Laser Cutting)

การตัดเลเซอร์ (Laser Cutting)

การตัดเลเซอร์ (Laser Cutting) คือ เทคโนโลยีที่ใช้ความร้อนจากลำแสงเลเซอร์กำลังสูงตัดผ่านชิ้นวัสดุ ทำให้จุดที่ได้รับลำแสงหลอมละลายและเปลี่ยนรูปไปตามแบบที่ต้องการโดยการใช้ เครื่องตัดเลเซอร์ CNC (Computer Numerical Control) ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความแม่นยำสูง ทำให้ได้ชิ้นงานคุณภาพภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว สามารถทำได้หลายอย่าง เช่น ฉลุลาย บากมุม ตัดชิ้นงานเพลท เจาะรู เจาะท่อ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทำให้ เลเซอร์คัท (Leser Cut) นิยมนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรม วัสดุที่นำมาใช้มักจะเป็นเหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง และอื่น ๆ

4. การวีคัท (V-Cut)

การวีคัท (V-Cut)

การวีคัท (V-Cut)  คือ การไสโลหะแผ่นให้เกิดเป็นร่องรูปตัว V เพื่อลดรัศมีของมุมพับก่อนนำชิ้นงานเข้าสู่กระบวนการพับ เป็นอีกขั้นตอนสำคัญสำหรับการแปรรูปโลหะ ยกระดับคุณภาพของชิ้นงานให้ได้มุมฉากมากที่สุด ด้วยเครื่องไสร่องวี (CNC V-Cutting Machine) ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ความแม่นยำสูงในการแปรรูปชิ้นงาน มักใช้กับงานลักษณะที่เน้นความสวยงาม โชว์ขอบ โชว์มุม โชว์ผิวของวัสดุ ตัวอย่างเช่น ตัวครอบท็อปโต๊ะ กรอบประตูหน้าต่าง งานประดับตกแต่งอาคาร คิ้วสแตนเลส กรุยเชิงสแตนเลส

5.การผลิตชิ้นงานตามแบบ (Custom)

นอกจากการแปรรูปโลหะทั้ง 4 แบบหลัก ๆ ที่เรากล่าวมาด้านบนแล้ว PNS Metal Work ยังมีบริการ รับผลิตชิ้นงานตามแบบ รับผลิตขึ้นรูปชิ้นงานโลหะทุกชนิต ทั้งเหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ฯลฯ โดยเรามีเครื่องจักรและทีมช่างมากประสบการณ์ที่สามารถรองรับการผลิตชิ้นงานที่หลากหลายรูปแบบได้

***แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ลูกค้าจำเป็นต้องติดต่อสอบถามเข้ามาก่อน เพื่อให้ช่างประเมินชิ้นงานนั้น ๆ ว่าเราจะสามารถผลิตให้ได้ตามที่ต้องการหรือไม่***

ตามมาดูตัวอย่างกระบวนการผลิตและรู้จักกับคำนิยามของงานนั้น ๆ ได้เลยค่ะ

- การเชื่อม (Welding)

การเชื่อม (Welding)

การเชื่อม (Welding) คือ กระบวนการต่อโลหะตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปให้ติดกัน โดยใช้ความร้อนอุณหภูมิสูงทำให้โลหะเชื่อมประสานและหลอมรวมกันกลายเป็นเนื้อเดียว เป็นหนึ่งในเทคนิคที่จำเป็นและพบได้บ่อยที่สุดในงานโลหะ โดยแหล่งความร้อนที่สามารถนำมาใช้ในงานเชื่อมได้ มีหลายแบบและมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป เช่น การอาร์คไฟฟ้า (Alectric Arc) การเชื่อมแก๊ส (Gas Flame) การเชื่อมด้วยลำแสงอิเล็กตรอน (Electron Beam) การเชื่อมด้วยลำแสงเลเซอร์ (Laser Beam)

ซึ่งการอาร์คเป็นการเชื่อมที่คนทั่วไปคุ้นเคยและได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นการเติมโลหะลงไปในแนวเชื่อม โดยการใช้ความร้อนจากลวดเชื่อมทำให้เกิดประกายอาร์คระหว่างลวดเชื่อมกับชิ้นงาน จากนั้นลวดเชื่อมจะหลอมละลายปกคลุมตลอดแนวเชื่อม ส่งผลให้ชิ้นงานถูกหลอมรวมกลายเป็นเนื้อเดียวกัน

- การปั๊ม (Pressworking or Stamping)

การปั๊ม (Pressworking or Stamping)

การปั๊ม (Pressworking or Stamping) คือ กระบวนการขึ้นรูปด้วยการกดหรือปั๊มเพื่อปรับเปลี่ยนแผ่นโลหะเปล่าให้เป็นช่องว่างตามรูปร่างที่ต้องการตามแบบแม่พิมพ์ โดยใช้เครื่องปั๊ม (Mechanical Press or Stamping Machine) ระบบกลไกหรือไฮดรอลิกที่มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง เป็นเทคนิคการผลิตที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการผลิตชิ้นส่วนโลหะต่าง ๆ โดยในระหว่างกระบวนการปั๊มจะมีทั้ง การปั๊มเจาะด้วยพั้นช์และดาย (Blanking) การตัดเจาะให้เป็นรู (Piercing) และอื่น ๆ

- การรีด (Rolling)

การรีด (Rolling)

การรีด (Rolling) คือ กระบวนการทางกลที่ใช้ในการลดความหนาของแผ่นโลหะ หรือเปลี่ยนขนาดพื้นที่หน้าตัดของชิ้นงาน โดยใช้แรงกดผ่านทางลูกรีด (Rollers) ทำให้วัสดุถูกบีบอัดจนได้รูปทรงที่ต้องการ ซึ่งการรีดสามารถทำได้โดยใช้เครื่องรีด (Rolling Mills) หลายประเภทด้วยกัน เช่น การรีดร้อน (Hot Rolling) การรีดเย็น

(Cold Rolling) การรีดแบบลูกกลิ้งเรียงตามกัน (Tandem Rolling) การรีดแบบลูกกลิ้งสลับทิศการหมุนกลับไปมา (Reverse Rolling) และชิ้นงานที่ผ่านการรีดสามารถขึ้นรูปเป็นทั้ง 1. รีดขึ้นรูปแบบแบน 2. รีดขึ้นรูปแบบเป็นรูปทรงต่าง ๆ

สำหรับกระบวนการรีดที่เห็นดังรูปด้านบนคือการรีดเหล็กเพื่อให้ได้ “เสาเชลฟ์” ซึ่งเป็นการผลิตชิ้นของสำคัญของเครือบริษัทของเรา นั่นก็คือ ชั้นวางสินค้า

- การพ่นสี (Powder Coating)

การพ่นสี (Powder Coating)

การพ่นสี (Powder Coating) คือ กระบวนการที่ใช้ในการเคลือบสีตกแต่งผิววัสดุให้เปลี่ยนเป็นสีตามที่ต้องการ ด้วยการใช้เครื่องพ่นสีฝุ่นที่มีแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าและแรงดันจากถังสี มาพ่นกระจายให้สีเกาะติดกับพื้นผิววัสดุ จากนั้นจะนำวัสดุไปอบด้วยความร้อนเพื่อให้สีฝุ่นเคลือบพื้นผิวให้เรียบเนียนสม่ำเสมอ โดยการพ่นสีแบบนี้จะป้องกันการเกิดสนิม ไม่หลุดลอกง่าย ทนทานต่อการกัดกร่อน สารเคมี และรังสียูวี

การพ่นสีเป็นขั้นตอนของการขัดเกลาหรือตบแต่ง (Finishing) ในงานโลหะหรือ Metaworking สำหรับการพ่นสี เรามีโรงงานสำหรับพ่นสีสินค้าในเครือโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นชั้นวางสินค้า แฮนด์ลิฟท์ และชิ้นงานโลหะอื่น ๆ

สรุป

ทั้งหมดนี้ก็เป็นภาพรวมของ Metalworking และคำจำกัดความสั้น ๆ รวมตัวอย่างงานโลหะหลัก ๆ ที่ PNS Metal Work นำมาให้ทุกคนได้รู้จักกัน

นอกจากนี้การผลิตขึ้นรูปและแปรรูปโลหะยังมีการม้วน (Curling) การตี (Forging) การกลึง (Turning) และกระบวนการอื่น ๆ อีกมากมาย

ซึ่งงานแต่ละแบบก็จะมีคำจำกัดความที่แตกต่างกันออกไป ในคอนเทนต์นี้ เรานำเฉพาะคำจำกัดความที่เกี่ยวข้องกับงานในส่วนที่ PNS ผลิตมาให้ดูเพียงบางส่วนเท่านั้น หากต้องการทราบว่า PNS รับทำอะไรอีกบ้าง สามารถทักเข้ามาสอบถามตามช่องทางด้านล่าง หรือคลิกที่ปุ่มเพื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เลยค่ะ

--------------------------------------------------------

บริษัท พีเอ็นเอส แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

55/17 หมู่ที่ 5 ซอยเชิดมหาไชย 1 ถ.เอกชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000

Line @PNSmetalwork

Facebook Page : PN Laser Cut

E-Mail : [email protected]

YouTube Channel : PN Laser Cut

References :